วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ข่าวเทคโนโลยีที่น่าสนใจ

Google ล่ม 5 นาที คาดสูญเงิน 5.45 

                แสนเหรียญสหรัฐฯ















เว็บไซต์ด้านไอที thumbsup.in.th ได้นำเสนอบทความอ้างอิงจากสำนักข่าว
 VentureBeat รายงานวิกฤติเครือข่ายล่มที่เกิดขึ้นกับ Google ว่ากินเวลา 5 นาที
 โดยทีมงาน VentureBeat และผู้ใช้งานทั่วไปที่โพสต์ข้อความรายงานบน 
Twitter วันที่ 16 สิงหาคมตั้งแต่ช่วงเวลา 3:50 p.m. ถึง 3:55 p.m. (Pacific time) 
หรือตรงกับเวลาไทยตอน 05.50-05.55 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม 2556

ด้วยปริมาณการใช้งานมหาศาลทำให้เสิร์ชเอนจิ นยักษ์ใหญ่ระดับโลก “Google” ไม่สามารถใช้งานได้นานนับ 5 นาที เบื้องต้น สื่ออเมริกันคาดว่าการ “ล่ม 5 นาที” ของ Google อาจทำให้กูเกิลสูญรายได้มากกว่า 545,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 16 ล้านบาท

รายงานระบุว่า เหตุ Google ล่มครั้งนี้มีผลกระทบต่อทุกบริการของ Google ทั้งหน้าเว็บไซต์หลัก Google.com, บริการ YouTube, บริการ Google Drive และบริการเมล Gmail และจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Danny Sullivan พบว่าวิกฤติเครือข่ายครั้งนี้ถือเป็นปัญหาครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหากพิจารณาช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้บริการ Gmail และ Google Drive จะเคยประสบปัญหาระบบล่มมาก่อน แต่หน้า Google.com นั้นยังสามารถใช้การได้ดีและไม่เคยมีปัญหาใดๆ
จุดนี้ VentureBeat เลยนำรายได้ของ Google ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2013 มาคำนวณเพิ่มเติม จนพบว่าหากหารรายได้ 1.41 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ออกมาเป็นนาที จะสรุปได้ว่ายักษ์ใหญ่ Google เป็นบริษัทที่ทำรายได้มากกว่า 108,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อนาทีหรือประมาณ 3.4 ล้านบาท ซึ่งการที่ระบบล่มไปจนชาวออนไลน์ไม่สามารถคลิกโฆษณาบนบริการของ Google ได้นั้น อาจตีความเป็นจำนวนเงินได้ว่า Google มีโอกาสสูญเงินสูงกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ

เพื่อให้เห็นภาพ VentureBeat ยังเทียบว่าเงิน 545,000 เหรียญสหรัฐที่อาจจะหายไปในช่วงที่ Google ระบบล่ม 5 นาที นั้นสามารถซื้อรถหรู Lamborghinis ได้ถึง 2 คัน หรือเทียบเท่ารถไฟฟ้ายี่ห้อ Tesla ของซีอีโอ Larry Page จำนวน 5 คัน หรือสามารถซื้อแว่น Google Glass จำนวนมากกว่า 300 ชิ้น

ทั้งหมดนี้ถือเป็นสถิติน่ารู้ที่เชื่อว่า Google จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต เช่นเดียวกับบรรดาธุรกิจออนไลน์ที่ต้องระมัดระวังทุกลมหายใจจริงๆ



สบายดีไหม - PARATA(ภารต้า) Official MV.

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎMoore’s Law


          กฎของมัวร์  คือ   กฏทีอธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาวโดยมีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกต้องชื่อตาม  กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น
     เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีการคิดค้น "กฎของมัวร์ (Moore 's law)" ขึ้น โดย เจ้าของทฤษฎีคือ กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ ( Moore 's law) ขึ้น ซึ่งเขาที่ทำนายว่า ทุก 2 ปี หรือ 24 เดือน จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น หลังจากที่มีการค้นพบวงจรรวม(ไอซี) เพียงแค่ 4 ปี

     กอร์ดอน มัวร์ ได้ใช้หลักการสังเกตตั้ง กฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี และมีผู้นำกฎนี้มาใช้กับ กำลัง
eCommerce (หรือ ความจุ หรือ ความเร็ว) ของสิ่งต่อไปนี้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน ดังนี้  
1. ความเร็ว Computer Processor2. แบนด์วิธการสื่อสารและโทรคมนาคม
3.
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
4.
ความจุฮาร์ดดิสก์




 

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสASCII 

     ASCII (American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 3 แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้ 

สัญลักษณ์          A   
เลขฐานสิบ         65
เลขฐานสอง       100 0001
เลขฐานสิบหก     4 1

รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท


รหัสUnicode

     ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด
Unicode ต่างจาก ASCII 
     คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่ Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น


                                                           ตัวอย่างUnicode

เขียน ชื่อ-สกุล ด้วย รหัสASCII

POOLPAT RATTANA
0101 0000     P
0100 1111     O
0100 1111     O
0100 1100     L
0101 0000     P
0100 0001     A
0101 0100     T
       0100 0000     SPACE
0101 0010     R
0100 0001     A
0101 0100     T
0101 0100     T
0100 0001     A
0100 1110     N
0100 0001     A

มีพื้นที่จัดเก็บ 15 ไบต์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เเบบทดสอบ เรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์

เเบบทดสอบ เรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์
คลิกที่นี้

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

     คือ ตรวจสอบความผิดพลาดจากสื่อสารหรือส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีสาเหตุต่าง ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดจาก 0 เป็น 1 ก็ได้ การตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ก็สามารถดูได้จากพาริตี้บิตนี้ ต้องทราบว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้นั้นเป็นระบบพาริตี้เลขคู่ (even parity) หรือ พารีตี้เลขคี่ (odd parity) 

บิตตรวจสอบ มีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
     ภาวะคู่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล โดยการเพิ่มบิตต่อกันเข้ากับข้อมูล 
(concatenate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็น 1 เปลี่ยนเป็นเลขคู่ ดู odd parity เปรียบเทียบ

2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
      ภาวะคี่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการเพิ่มบิตต่อหันเข้ากับข้อมูล (concatenate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็นคู่ เปลี่ยนเป็นเลขคี่ดู even parity เปรียบเทียบ

ข้อเสีย
     การใช้ Parity bit คือ เสียเวลา และไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนัก เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าผิดที่ตำแหน่งตรงไหน และแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ได้ บอกได้แค่เพียงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเท่านั้น และ ถ้าสมมติข้อมูลเกิดผิดพลาดทีเดียว 2 บิต เช่น 10001001 เปลี่ยนเป็น 10101011 เราก็ไม่สามารถเช็คข้อผิดพลาดโดยใช้วิธี Parity ได้

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์


ยุคที่ 1  (ปี ค.ศ. 1937-1953) 
          UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
หลอดสุญญากาศ
                            มาร์ค วัน (MARK I)                                              อีนิแอค (ENIAC)
ยูนิแวค (UNIVAC)


 ยุคที่ 2  (ปี ค.ศ. 1954-1962) 
          ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 
          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง
Magnetic cores


ยุคที่ 3 (ปี ค.ศ. 1963-1972) 
          ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
เริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969 

                                                         เครื่องอ่าเทปเเม่เหล็ก 
  
   เทปเเม่เหล็ก


ยุคที่ 4  (ปี ค.ศ. 1972-1984) 
          ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจ
          ในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น



ยุคที่ 5  (ปี ค.ศ. 1972-1984) 
          เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร 
          ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing) 
          ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล 
โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ
          ธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่
ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotex สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือ ความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21


ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์


charles babbage


เมื่อปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้
ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา

lady augusta ada byron



พ.ศ. 2385 สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้เครื่องนี้ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือ Taylor''s Scientific Memories จึงนับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรูที่บรรจุชุดคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือที่เรียกว่า Loop เครื่องมือคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เลขฐานสอง (Binary Number)กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต

Herman Hollerith

 ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
                                                                      เครื่องเจาะบัตร

Alan Mathison Turing


แอลัน แมธิสัน ทัวริง กิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างรูปแบบอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง อย่างเป็นทางการทางคณิตศาสตร์ หรือ บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Alan Turing มีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามโลก เขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์



konrad zuse

(ค.ศ.1941) เป็นครั้งแรกที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Compute
Z3 ของประเทศเยอรมนี ออกแบบใน ค.ศ. 1941 โดย Konrad Zuse เป็นคอมพิวเตอร์ไฟฟ้า-จักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก มันเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ใช้เลขคณิตฐานสอง เป็นทัวริงบริบูรณ์ และโปรแกรมได้เต็มที่ โดยใช้เทปเจาะรู แต่ใช้รีเลย์ในการทำงานทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิก

Prof. Howard H.Aiken 


 (ค.ศ.1937) โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล


Dr.Jobn Vincent Atansoff , Clifford Berry 


         (พ.ศ.2480-2481) ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์


John W. Mauchly & Persper Eckert


 (พ.ศ. 2486) ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 John W. Mauchly และ Persper Eckert จากหมาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยนำหลอดสุญยากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น



Dr.John von Neumann



 (พ.ศ. 2492- พ.ศ. 2494) Dr.John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)

Dr.Ted Hoff 


  (ค.ศ. 1971) Ted Hoff แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย


Steve Jobs & Steve Wazniak 


 สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)
แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC

Bill Gates


 (ค.ศ. 1974) เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ที่ครองตลาดผู้ใช้มากที่สุดคือบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นหนึ่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลก ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้าบริษัท ซึ่งเขาได้ร่วมกับพอล อัลเลน (Paul Allen) ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์



วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เเนะนำสถานที่ท่องเที่ยว เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี


เกาะสมุย


อากาศร้อน ๆ อย่างนี้จะไปเที่ยวหลบร้อนที่ไหนกันดีเอ่ย? "ทะเล" คงเป็นคำตอบสำหรับหลาย ๆ คนที่อยากจะไปพักผ่อนหลบร้อนกัน เราเลยขอพาคุณไปเที่ยวทะเลที่ฮอตและฮิตที่สุดของทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติที่ "เกาะสมุย" สวรรค์กลางอ่าวไทย

 เกาะสมุย เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บริเวณอ่าวไทยห่างจากสุราษฎร์ธานีไปทางทิศตะวันออก 84 กิโลเมตร พื้นที่ 1ใน 3ของเกาะเป็นที่ราบรอบล้อมไปด้วยภูเขา ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงคลื่นลมสงบจึงเมาะแก่การท่องเที่ยวมากที่สุด

เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ก็ต่างขนานนามให้เกาะสมุยว่าเป็น "สวรรค์กลางอ่าวไทย" เนื่องจากเกาะสมุยมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น สวยงาม มีเสน่ห์แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม อาทิเช่น น้ำทะเลใสบริสุทธิ์ หาดทรายขาวทอดขนานไปกับทิวต้นมะพร้าวริมชายหาด และนอกจากธรรมชาติชายทะเลแล้ว ยังมีน้ำตกที่มีน้ำใสเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่น เช่น วัดสำเร็จ วัดละไม วัดพระใหญ่ เจดีย์แหลมสอ ฯลฯ


สถานที่สวยๆๆ จากเกาะสมุย




อ้างอิงจาก

เเนะนำตัว

สวัสดีครับ
ผม นายพูลพัฒน์ รัตนะ ชื่อเล่นภีม อายุ 19 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะวิทยาการจัดการ สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

การศึกษา
มัธยมจบจาก    ตะกั่วป่าเสนานุกูล
ปวช.จบจาก     วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต  สาขา คอมพิวเตอร์ธุระกิจ
ตอนนี้ศึกาาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต สาขา คอมพิวเตอร์ธุระกิจ

กิจกรรมยามว่าง
เล่นกีตาร์ เล่นกีฬา

ที่อยู่บัจจุบัน
35/186  หมู่บ้านปาริชาติ ต.ฉลอง อ. เมือง จ.ภูเก็ต

คติประจำใจ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำไม่เป็นต้องลอกเพื่อน

facebook-poolpat rattana