วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎMoore’s Law


          กฎของมัวร์  คือ   กฏทีอธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาวโดยมีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกต้องชื่อตาม  กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น
     เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีการคิดค้น "กฎของมัวร์ (Moore 's law)" ขึ้น โดย เจ้าของทฤษฎีคือ กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ ( Moore 's law) ขึ้น ซึ่งเขาที่ทำนายว่า ทุก 2 ปี หรือ 24 เดือน จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น หลังจากที่มีการค้นพบวงจรรวม(ไอซี) เพียงแค่ 4 ปี

     กอร์ดอน มัวร์ ได้ใช้หลักการสังเกตตั้ง กฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี และมีผู้นำกฎนี้มาใช้กับ กำลัง
eCommerce (หรือ ความจุ หรือ ความเร็ว) ของสิ่งต่อไปนี้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน ดังนี้  
1. ความเร็ว Computer Processor2. แบนด์วิธการสื่อสารและโทรคมนาคม
3.
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
4.
ความจุฮาร์ดดิสก์




 

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสASCII 

     ASCII (American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 3 แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้ 

สัญลักษณ์          A   
เลขฐานสิบ         65
เลขฐานสอง       100 0001
เลขฐานสิบหก     4 1

รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท


รหัสUnicode

     ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด
Unicode ต่างจาก ASCII 
     คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่ Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น


                                                           ตัวอย่างUnicode

เขียน ชื่อ-สกุล ด้วย รหัสASCII

POOLPAT RATTANA
0101 0000     P
0100 1111     O
0100 1111     O
0100 1100     L
0101 0000     P
0100 0001     A
0101 0100     T
       0100 0000     SPACE
0101 0010     R
0100 0001     A
0101 0100     T
0101 0100     T
0100 0001     A
0100 1110     N
0100 0001     A

มีพื้นที่จัดเก็บ 15 ไบต์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เเบบทดสอบ เรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์

เเบบทดสอบ เรื่อง การทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์
คลิกที่นี้

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

     คือ ตรวจสอบความผิดพลาดจากสื่อสารหรือส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีสาเหตุต่าง ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดจาก 0 เป็น 1 ก็ได้ การตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ก็สามารถดูได้จากพาริตี้บิตนี้ ต้องทราบว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้นั้นเป็นระบบพาริตี้เลขคู่ (even parity) หรือ พารีตี้เลขคี่ (odd parity) 

บิตตรวจสอบ มีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
     ภาวะคู่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล โดยการเพิ่มบิตต่อกันเข้ากับข้อมูล 
(concatenate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็น 1 เปลี่ยนเป็นเลขคู่ ดู odd parity เปรียบเทียบ

2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)
      ภาวะคี่หมายถึง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลโดยการเพิ่มบิตต่อหันเข้ากับข้อมูล (concatenate) เพื่อให้จำนวนบิตที่มีค่าเป็นคู่ เปลี่ยนเป็นเลขคี่ดู even parity เปรียบเทียบ

ข้อเสีย
     การใช้ Parity bit คือ เสียเวลา และไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนัก เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าผิดที่ตำแหน่งตรงไหน และแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ได้ บอกได้แค่เพียงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเท่านั้น และ ถ้าสมมติข้อมูลเกิดผิดพลาดทีเดียว 2 บิต เช่น 10001001 เปลี่ยนเป็น 10101011 เราก็ไม่สามารถเช็คข้อผิดพลาดโดยใช้วิธี Parity ได้